Alan Chan







ประวัติ Alan Chan คือหนึ่งในนักออกแบบกราฟฟิคที่ฝึกมาแบบ Hong Kong ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับระหว่างประเทศ คือต่างชาติก้อรู้จำพลาด
แรงบันดาลใจของของเข้า มาจากการสะสมของ? ซึ่งนำมาประกอบ งานชั้นวางของและตู้อัดแน่นไปด้วยโบราณวัตถุล้ำค่าหนังสือจีน เครื่องเคลือบจีนโบเรือนที่เขาสะสมมาหลายปีในบรรดาของเหล่าดี
มากกว่า200ชิ้นการประกวดระดับระหว่างท้องถิ่นชนะมากว่า 20 ปี ในการโฆษณาและการออกแบบได้หลายรางวัลมากมายจากในNew york ,
โตเกียว , Hongkongในปี1989เขาได้เป็นนักออกแบบแห่งปีซึ่งเป็นอย่างมาก
แสดงให้เห็นว่าHongkongมีช่างฝีมืออยู่รางวัลนี้แสดงให้เห็นถึงมีพรสวรรค์ซึ่ง
มีเหนือกว่าการที่เขาได้เข้าคอร์สกราฟฟิคดีไซน์แค่ 1 ปีในครอบครัวที่โบราณ
และมีระเบียบ Chan เริ่มอาชีพด้วยการเป็นจิตรกรรุ่นจิ๋วใน Grant Advertising ในปี 1970 เขาก็ได้เดินหน้าเพื่ออนาคตต่อๆมาลูกค้าเขามี Fiat Cathy Pacific & Lufthansa ,
Toyota , Samsonite ในปี 1978 เขาถูกแต่งตั้งให้เป็น Senior Art Director ควบคุม
Pepsi Cola , ~ ~ ในปี1980 เขาได้ตั้งบริษัทของเขาเองคือ Dimensions Adverting
กับภรรยาเขาชื่อ Sandra ตามมาด้วยอีกบริษัท ในปี 1986 บริษัทเขาทำในหลายด้าน
เช่น ทำโบรชัว , รายงานประจำปี , โปรแกรม , ออกแบบ Package , การออกแบบ
Campaigns ไปถึงสัญลักษณ์ทางโรงแรมการสรรเสริญที่เขาได้รับมาจากการสร้าง
สรรค์ค?ผลงาน ที่น่าประทับใจสำหรับลูกค้า Hongkongและประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่ง
เขามีโครงการสำหรับประเทศนี้มากมายในญี่ปุ่น เขาทำงานกับ Seibu Department store
ในสิงคโปร์ , ในร้านต่างๆ ในจีนเขาทำงานกับ Grand Hotel Beijing & The westin ที่เซี่ยงไฮ้การรวมกันของวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตกในGraphic design ที่ร่วมสมัยนั้นเป็นงานหลักๆของAlan Chan คือเป็นconcept ของงานของเขา
ได้เป็นอาจารย์สอนที่ Hongkong Polytechnic สถาบันสำหรับการออกแบบ
เขาถูกเชิญไปสอนที่จีน ใต้หวัน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น งานของเขาถูกตีพิมพ์อย่าง
กว้างขวางในนิตยสาร ระหว่างประเทศ , วารสารมืออาชีพ ใน อเมริกา และในญี่ปุ่น






ผมจะขอยกตัวอย่าง Graphic Designer ไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ที่มีความผสมผสานความเป็นไทยสากล
เขาคือ อ.ไพโรจ์ หรือ โรจ์สยามรวย

ไพโรจน์ ธีระประภา หรือที่รู้จักกันในวงการว่า 'โรจ สยามรวย' คนโฆษณาจาก สยามรวยดีไซน์ เจ้าของฟอนท์ ตระกูล SR เช่น ฟอนท์ ฟ้าทะลายโจรและหมานคร เขาให้คำอธิบายไว้ว่า ฟอนท์ แยกได้สองชนิดตามการใช้งานคือ ฟอนท์ สำหรับอ่าน หรือ เท็กซ์ (Text) และฟอนท์ที่เป็น ดิสเพลย์ (Display) สำหรับโชว์ เช่นตัวหนังสือบนปกเทป เห็นตัวอักษรที่เราอ่านได้ง่ายๆ แบบนี้ คนที่เคยทำฟอนท์มาต่างพูดเป็นเสียงกันว่ายาก และยํ้าอีกครั้งว่ายากมาก และคนที่จะยืนยันได้ดีที่สุดก็คือ คนออกแบบฟอนท์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งในวงการ ปริญญา โรจน์อารยานนท์ เจ้าของ DB designs เจ้าของฟอนท์ตระกูล DB

“สิ่งที่คนไม่ได้ทำงานฟอนท์จะไม่ค่อยรู้ก็คือ การออกแบบฟอนท์ มันคนละเรื่องเดียวกันกับเรื่องออกแบบตัวอักษร เพราะออกแบบตัวอักษรให้มันโค้งสวยๆ จะเอาไปวางชิดห่างกันยังไงก็ได้ ทำตัว ร.เรือ ประหลาดยังไงก็ได้ แต่พอเอางานออกแบบมาทำเป็นฟอนท์ที่อยู่ในเซตเดียวกันคุณจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะมันจะเข้ากับชาวบ้านไม่ได้

เพราะฉะนั้นการออกแบบตัวอักษรให้สวยคือเรื่องหนึ่ง ส่วนการออกแบบตัวพิมพ์ให้สวยมันยากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว เพราะมันไปเป็นกลุ่ม คือใน 44 ตัวต้องพอดีกันหมด เน่าสักตัวไม่ได้ มองแง่หนึ่งตัวดิสเพลย์อาจจะง่ายกว่า ถ้าเราจับทางมันได้แล้ว แต่ตัวเนื้อ เราค้นพบว่ามันคือสุดยอดความยากของงาน ไปๆ มาๆ เราพบว่าช่องไฟทำยากกว่าตัวอักษรเสียอีก” ปริญญา กล่าว

“ดีไซน์ไม่เท่าไหร่ แต่พอเอามาผสมกันยากมาก ไม่ใช่แค่ตัวอักษร 44 ตัว ยังมีสระ วรรณยุกต์ แล้วฟอนต์ ยังต้องมีตัวหนา ตัวบาง ตัวเอียง นอกจากมีครบตัวแล้วยังต้องทำให้ครบครอบครัวมันอีก ยิ่งยากขึ้นไปอีก ตัวเอน ไม่ใช่เอาตัวตรงมาจับโยก แต่ในความหมายของคนทำฟอนท์ คือต้องมาเหลาตัวอักษร แก้ปัญหา ช่องว่างข้างใน แก้ปัญหาลวงตา มันดำไปไหม หัวมันบอดหรือเปล่า เหมือนทำใหม่อีกชุด” ไพโรจน์ กล่าวเสริม

“ฟอนท์ที่ผมประทับใจ ก็คงเป็นฟอนท์แรกในชีวิต ผมว่าคงเป็นเหมือนกันทุกคน คุณเอ๋ย มันลุ้นมาก ตอนที่เราทำในโปรแกรมเสร็จแล้วเอามาใช้จริง งานที่เราดีไซน์มันพิมพ์ได้ มันอยู่บนหน้าจอ พอสั่งพริ้นต์ กดเอ็นเตอร์ปุ๊บ แล้วรอมันไหลออกมา โคตรลุ้นเลย เอาแผ่นนั้นมานั่งดูทั้งวัน นี่คือความประทับใจ” ไพโรจน์ เล่าเรื่องวันวานที่นานมาแล้ว

ปริญญา มีความทรงจำเดียวกันว่า “ตอนที่พริ้นต์ออกมาเป็นไฟนอลแล้ว โอ้โห นั่นแหละความสุข”

ฟอนท์นี้มีเจ้าของ

“ก๊อบปี้มันง่าย แป๊บเดียวก็เสร็จ” คำบอกเล่าที่ตรงกันของ ปริญญา โรจน์อารยานนท์ และ ไพโรจน์ ธีระประภา เมื่อถามถึงสถานการณ์ผู้ใช้ฟอนท์

หลายปีมาแล้วเกิดกรณีฟ้องร้อง ระหว่างคนทำฟอนท์ ที่เป็นเหมือนตัวแทนคนกลุ่มเล็กๆ กับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นำฟอนท์ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะมีผู้ใหญ่ของบ้านเมืองออกมาพูดในทำนองว่า ตัวอักษรเป็นสมบัติของคนในชาติ ไม่อาจมีลิขสิทธิ์ แต่บทสรุปจากชั้นศาลก็เหมือนเป็นการตอบสังคมให้ทราบว่า ฟอนท์ คือคนละเรื่องกับตัวอักขระที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่คือเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ผู้ละเมิดในครั้งนั้นถูกพิพากษาให้จำคุกและถูกปรับ และถูกศาลอุทธรณ์สั่งให้ห้ามฎีกา

“พูดง่ายๆ คือเราทำฟอนท์ เนื่องจากเราเป็นดีไซเนอร์อยู่แล้ว เราทำสุดฝีมือ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนความรู้กันในแวดวง เมื่อเราทำงานแล้วเราก็อยากให้คนในวงการใช้ด้วย ใช้คนเดียวไม่คุ้มหรอกเพราะทำมาแทบตาย แต่ผลมันก็คือว่า อะไรที่มันดีพอ คุณเอาไปใช้แล้วมันเข้าท่า ถ้าจะใช้คุณก็จ่ายสิ เพราะมันไม่ได้งอกมาจากเครื่อง จ่ายทีเดียวใช้ไปได้ชั่วชีวิต ถ้าคุณคิดว่ามันไม่ดีไม่เห็นต้องจ่าย คุณก็ไม่ต้องใช้” คำพูดที่ตรงไปตรงมาของ ปริญญา ที่ตอนนี้เขาเริ่มจริงจังกับการทำฟอนท์ขาย

ฝ่ายสยามรวย ที่เริ่มมาจากคนทำฟอนท์ใช้เอง ในการผลิตงานโฆษณา ออกความเห็นว่า “ผมไม่ได้เชียร์กันเองนะ ทุกวันนี้ฟอนท์ในตลาดคอมพิวเตอร์มีเยอะมาก แต่มีไม่กี่ฟอนท์หรอกที่ถูกเลือกมาใช้ประจำและบ่อย ไม่กี่ฟอนท์นี่แหละที่น่าจะเรียกว่าฟอนท์คุณภาพดี ฟอนท์ดีอยู่ได้นานกว่าคนทำเสียอีก อย่างฟอนท์ ค่าย DB คนก็เอาไปใช้เยอะแล้ว หลายปีแล้ว ถ้าวันนี้เขาจะขายเป็นเรื่องเป็นราวก็อุดหนุนกันบ้าง คืนให้เขาบ้าง ถ้าผมทำแล้วไม่มีรายได้จากตรงนี้จะทำไปทำไม”

ทั้งคู่เสนอมุมมองว่า การละเมิดและไม่เห็นคุณค่า บั่นทอนกำลังใจคนทำฟอนท์มิใช่น้อย แล้วต่อไปจะมีฟอนท์ใหม่ๆ ให้ใช้กันได้อย่างไร ถ้าไม่ให้กำลังใจและสนับสนุนกันบ้าง

นอกจากปริญญา คนรุ่นเก๋าแล้ว ยังมีนักออกแบบตัวอักษรรุ่นใหม่อีกคนคือ เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช กราฟฟิกดีไซเนอร์เจ้าของชื่อ B513DSIGN เจ้าของฟอนท์ KaniGa ที่แม้จะทำงานกราฟฟิกดีไซน์เป็นหลัก แต่การทำฟอนท์ขายก็เป็นอีกลู่ทางที่เขาเริ่มชิมลาง

“เรื่องลิขสิทธิ์ ผมมองว่า น่าจะมีการคุ้มครอง ซื้อไม่ซื้อเป็นอีกเรื่อง ต้องตามฟ้องมันเป็นอะไรที่เสียเวลาโดยใช่เหตุ คนที่ไม่คิดจะซื้ออยู่แล้วก็ไม่น่าจะเอาของเขาไปใช้ มันพูดยากนะ คนทำมันแค่นี้ แต่คนที่เอาไปใช้ มันคือคนกลุ่มใหญ่ อย่างที่ผมจะทำขาย คงลองดูในต่างประเทศก่อน เพราะยังไม่แน่ใจตลาดในไทยจะไปได้ดีแค่”

ฟอนท์โซไซตี้

ถ้าเอ่ยปากถามคนในแวดวงตัวอักษรอิเล็กทรอนิกส์ว่า วงการนี้กว้างขวางแค่ไหน คงได้คำตอบว่า แคบแค่ไหล่ชนกัน

หลังสถานการณ์ตึงเครียดเรื่องลิขสิทธิ์ฟอนท์ ในกรณีฟ้องร้องของ พีเอสแอล (บริษัท พีเอสแอล สมาร์ทเล็ตเตอร์ จำกัด) ทำให้เกิดการรวมตัวขึ้นหลายจังหวะ หนึ่งในนั้นคือ การประกวดฟอนท์ ของ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย (Thailand electronic publishing club : Tepclub) นอกจากต้องการสร้างสิบตัวแทนคนทำฟอนท์รุ่นใหม่แล้ว ยังพยายามสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งอย่างถูกลิขสิทธิ์ แต่ก็ไปได้ไม่ไกลนัก

ในยุคที่คาบเกี่ยวกับ ทำให้เกิดคำว่า ‘10 ฟอนท์ ’ โรจ สยามรวย ย้อนรอยให้ฟังว่า มาจากนิทรรศการ 10 ฟอนท์ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย เป็นนิทรรศการชื่อ ‘10 ตัวพิมพ์กับ 10 ยุคสังคมไทย โดยคุณประชา สุวีรานนท์ (บริษัท เอส.ซี.แมทช์บอกซ์ ร่วมกับนิตยสารสารคดี) จัดที่หอศิลป์จามจุรี แล้วสัญจรไปที่เชียงใหม่ ขอนแก่น

“เป็นเรื่องราวของตัวพิมพ์ มาจากไหนตัวพิมพ์ภาษาไทยใครเป็นคนคิด สืบไปสืบมาดีไซเนอร์ฝรั่งหมดเลย”

ฝรั่งที่ว่าก็คือ นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล มิชชันนารีคณะแบปติสต์จากสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มของหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ สมัยรัชกาลที่ 3

โรจ สยามรวย เล่าต่อว่า “ในงานมีการประกวดทำฟอนท์ เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ เป้าหมายคือต้องการ 10 ฟอนท์ ที่พูดกันในตอนนี้น่าจะเป็น 10 ฟอนท์จากการประกวดที่ได้แจกจ่ายไปสู่สาธารณะแล้ว คือฟรี”

นั่นเป็นเหมือนการสร้างสังคมคนทำฟอนท์ ที่ยังคลุมเครืออยู่จนทุกวันนี้ ผ่านมาหลายปี เกิดสังคมคนทำฟอนท์มือสมัครเล่น รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นเกี่ยวกับการทำฟอนท์ คอมมูนิตี้ที่น่าจับตามองอยู่ในเวบไซต์เล็กๆ เวบหนึ่ง ที่เจ้าของเรียกตัวเองว่า iannnnnnn แห่ง www.f0nt.com (เอฟ-เลขศูนย์-เอ็น-ที ดอทคอม)

Iannnnnnn คือชื่อของ ปรัชญา สิงห์โต ผู้ชายผู้ที่หลงรักการทำฟอนท์ลายมือ นักออกแบบอิสระ เวบมาสเตอร์ของคอมมูนิตี้บนเวบไซต์ f0nt.com

“ตอนที่ผมทำวิทยานิพนธ์ ผมอยากได้ลายมือของตัวเองในงานสเกตช์ ผมเลยเปิดเนตหาวิธีทำตัวหนังสือ ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีใครทำฟอนท์กันเลย ทำเสร็จก็เอาไปลงไว้ในเวบตัวเอง จากนั้นก็เริ่มมีคนมาโหลด มีฟีดแบ็กมาดีมาก นั่นเป็นแรงฮึดทำให้ผมทำเวบฟอนท์ ต่อมาเรื่อยๆ” อดีตหนุ่มสถาปัตย์ ศิลปากร เล่าเรื่อง

ทำมาเรื่อยๆ ที่เขาว่า ปัจจุบันเวบฟอนท์ มีลายมือให้โหลดเป็นร้อยแบบ มีคนเขามาใช้บริการไม่น้อย มีคนมาร่วมปล่อยของร่วมยี่สิบ มีตั้งแต่เด็กอายุ 12 จนถึงคนทำงานสถาปนิก ดอกเตอร์ ทหาร นักศึกษา เภสัชกร

“มันน่าสนใจตรงที่ว่า คนที่เข้ามามีหลากหลาย ทำให้มีฟอนท์หลากหลาย จากที่ทำเป็นความสนุก หลายคนพัฒนาเอาไปใช้ในการเรียนออกแบบได้ โดยเฉพาะคนที่เรียนด้าน Typography คิดว่าน่าจะเอาไปพัฒนาสู่อาชีพของเขาได้ ผมว่าปัจจุบันงานออกแบบตัวอักษรมันกระจุกอยู่แค่คนกลุ่มเดียว ขาดความหลากหลาย ถ้ามีคนเข้ามาเยอะขึ้น งานออกแบบฟอนท์น่าจะกระจายตัวและแพร่หลายมากกว่านี้ น่าจะเป็นผลดีต่อวงการ” มุมมองของ ปรัชญา

ส่วนไพโรจน์ ธีระประภา มีมุมมองของต่อคอมมูนิตี้แห่งนี้ในแง่การศึกษา

“พูดถึง iannnnnnn เขากำลังเริ่มสนใจ มีไฟแรง ก็ดี อยากจะยุให้ทุกคนมีไฟ กลุ่มเขาก็วัยไล่เลี่ยกัน มาชุมนุมกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เป็นสังคมที่ดี เป็นคอมมูนิตี้ที่น่ารัก ใครทำอะไรไม่เป็น ติดตรงไหนก็มาแชร์กัน แล้วสิ่งที่ทำขึ้นมาไม่ได้มองเรื่องการค้า แบ่งกันได้” ไพโรจน์กล่าว

อนาคตคนทำฟอนท์

พอตั้งคำถามว่า พอเอาเข้าจริงแล้ว โอกาสของอาชีพทำฟอนท์ขายจะเป็นจริงได้แค่ไหนในเมืองไทย ไพโรจน์ บอกว่าเขาหวังเพียงแค่ครึ่งเดียว ส่วนปริญญา ออกความเห็นว่า ถ้าสังคมไทยปฏิเสธการจ่ายเงินตรงนี้ อนาคตก็ริบหรี่

“ถ้าสังคมไทยปฏิเสธการจ่ายเงินให้คนที่ทำงานให้อุตสาหกรรมการออกแบบอย่างผม เราจะหาคนที่ทำฟอนท์ยากขึ้นทุกทีในอนาคต เทคโนโลยีมันโหดขึ้น ผมต้องเสียเวลาย้ายฟอนท์ที่เคยทำมาไว้ในเทคโนโลยีใหม่ รายจ่ายมหาศาล ถ้าคนไม่ช่วยผมมันก็ผิดธรรมชาติ คนที่เคยทำเองจะรู้ว่าซื้อคุ้มกว่าเยอะ”

ว่าแล้ว ปริญญา ก็ออกปากเชิญชวนให้มาลองทำฟอนท์ด้วยตัวเอง ไพโรจน์ก็สนับสนุน

“ถ้าคุณแม่ที่อายุมากแล้วแต่ยังเขียนหนังสือได้ หรือลูกที่เพิ่งหัดเขียนหนังสือ ก็เอาลายมือมาทำฟอนท์ คิดดูมันจะเป็นความทรงจำที่ดีแค่ไหน ลองทำดูสักรุ่นหนึ่ง แล้วคุณอาจจะพบว่าซื้อเอาง่ายกว่าเยอะ” ไพโรจน์ พูดแบบทีเล่นทีจริง

ปริญญา กล่าวเปรียบเปรยว่า ภาษาคือเครื่องบันทึกเสียงชนิดเงียบ เพราะตัวหนังสือมันเป็นมากกว่าตัวหนังสือ ไม่ใช่มีคุณค่าแค่เพียงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม แต่ช่วยให้การสื่อสารมีรสชาติ

ส่วน ไพโรจน์ สรุปไว้ว่า

“ผมอยากให้เห็นความสำคัญของตัวหนังสือ มันมีความงามของมันอยู่ การจัดวางที่พิถีพิถันมันก็แทบไม่ต้องการรูปภาพมาประกอบ หนังสือบางเล่มที่ผมเปิด สวยด้วยการเลือกสี ตัวหนาตัวบาง การผสมผสานอยู่ด้วยกัน แค่นี้มันงามแล้ว ถ้าคนที่สนใจในเรื่องตัวหนังสือ ก็จะทำให้งานสิ่งพิมพ์ในบ้านเรามีแต่ความงาม ไม่มีขยะเกิดขึ้นมา

มีตัวอย่างดีๆ คนรุ่นใหม่ก็จะเก็บเป็นต้นทุนดีๆ เพื่อทำให้ดียิ่งขึ้นไป